|
ถาม-ตอบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อนุรักษ์พลังงาน |
include $_SERVER["DOCUMENT_ROOT"]."/html/th/query/q_ecp.php"; ?>
|
|
|
|
|
|
PV หรือ Solar Cell คืออะไร? |
|
PV หรือ Solar
Cell คือ อุปกรณ์ที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์หรือแสงสว่างได้โดยตรง
เซลล์แสงอาทิตย์สร้างจากสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน (Silicon),
แกลเลี่ยม อาเซไนด์ (Gallium Arrsenide), อินเดียม ฟอสไฟด์ (Indium
Phosphide), แคดเมียม เทลเลอไรด์ (Cadmium Telluride) และคอปเปอร์
อินเดียม ไดเซเลไนด์ (Copper Indium Diselenide) เมื่อดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนเป็นพาหะนำไฟฟ้า
และจะถูกแยกเป็นประจุไฟฟ้าบวกและลบเพื่อให้เกิดแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วทั้งสองของเซลล์แสงอาทิตย์
เมื่อนำขั้วของเซลล์แสงอาทิตย์ต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรง
จะสามารถทำงานได้
|
|
|
|
อายุการใช้งานของเซลล์แสงอาทิตย์ยาวนานเท่าไร? |
|
ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ จะใช้หลักการโฟโตอิเล็กตริกของสารกึ่งตัวนำ
โดยใช้การเคลื่อนของอิเล็กตรอน ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อการสึกหรอของวัตถุ
ทำให้อายุการใช้งานของเซลล์แสงอาทิตย์ยาวนานถึง 20-25 ปี
|
|
|
|
ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์เป็นเท่าไร? |
|
โดยทั่วไปแล้วพลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบพื้นโลกบนพื้นที่
1 ตารางเมตรจะได้รับพลังงานประมาณ 1,000 วัตต์ ซึ่งใน 1 วันเราสามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ประมาณ
4-5 ชั่วโมง และประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าจะอยู่ที่ประมาณ
10-16% ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งหมายความว่า เซลล์แสงอาทิตย์ขนาด
1 ตารางเมตรสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ 100-160 วัตต์
และใน 1 วันสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 500-800 วัตต์
|
|
|
|
Solar Cell เก็บพลังงานได้อย่างไร? |
|
ด้วยตัวของเซลล์แสงอาทิตย์เองนั้นไม่สามารถกักเก็บพลังงานไว้ได้
แต่เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นกระแสไฟฟ้า
โดยเมื่อดูดกลืนแสงอาทิตย์ได้จะผ่านกระบวนการก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้า
ซึ่งเป็นไฟฟ้ากระแสตรง สามารถนำกระแสไฟฟ้าไปใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้สำหรับไฟฟ้ากระแสตรงเท่านั้น
เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ไม่มากนัก จึงมีการนำเซลล์หลายๆ
เซลล์มาต่อกันเป็นแผง เพื่อให้ได้กระแสไฟฟ้ามากเพียงพอสำหรับใช้งาน
และหากต้องการเก็บพลังงานไว้ใช้เวลาไม่มีแสงแดดหรือใช้งานอื่นๆ
จะต้องนำเซลล์ต่อเข้ากับแบตเตอรี่ (Battery) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเก็บพลังงานไว้ใช้
รวมถึงต้องมีเครื่องควบคุมการประจุ (Charge Controller) ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมและป้องกันการประจุกระแสไฟฟ้าให้มีปริมาณเหมาะสมกับแบตเตอรี่
|
|
|
|
ในสภาวะที่อุณหภูมิสูง ประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์จะลดลงหรือไม่? |
|
สภาพอากาศเย็นจะทำให้เซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพสูงในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า
และทำงานได้ดีกว่าในสภาวะที่อุณหภูมิสูงหรืออากาศร้อน สาเหตุ
คือ เซลล์แสงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์
กลไกการทำงานบางอย่าง ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานในสภาวะอากาศที่อุณหภูมิสูง
สำหรับในฤดูหนาว ซึ่งสภาพอากาศเย็น แต่เซลล์แสงอาทิตย์กลับสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้น้อยกว่าในฤดูร้อน
ทั้งนี้เพราะช่วงเวลากลางวันสั้นกว่า, ดวงอาทิตย์ทำมุมต่ำกว่า
และมีเมฆปกคลุมบดบังแสงอาทิตย์มากกว่าฤดูร้อน
|
|
|
|
ที่กล่าวว่า PV หรือ Solar Cell เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หมายความว่าอย่างไร? |
|
ปัจจุบัน ได้มีการนำพลังงานจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมากมาย
และเซลล์แสงอาทิตย์เป็นหนึ่งในหลายวิธีในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาทดแทนพลังงานในรูปแบบอื่นๆ
รวมถึงเป็นการใช้พลังงานจากธรรมชาติที่คุ้มค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ดังต่อไปนี้
- ไม่ใช้เชื้อเพลิงใดๆ นอกจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด
ไม่ก่อปฏิกิริยาที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
- ไม่มีการเผาไหม้ จึงไม่ก่อให้เกิดมลภาวะด้านอากาศและน้ำ
- ไม่มีการเคลื่อนไหวขณะใช้งานและไม่เกิดเสียงขณะใช้งาน จึงไม่ก่อให้เกิดมลภาวะด้านเสียง
- ช่วยลดปัญหาการสะสมของก๊าซต่างๆ ในบรรยากาศ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์,
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์, ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ก๊าซไฮโดรคาร์บอน
และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นผลจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงพวกน้ำมัน
ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ทำให้โลกร้อนขึ้น เกิดฝนกรด และอากาศเป็นพิษ
ฯลฯ
- ไม่เกิดของเสียขณะใช้งาน จึงไม่มีการปล่อยมลพิษทำลายสิ่งแวดล้อม
|
|
|
|
เซลล์แสงอาทิตย์สามารถนำไปติดตั้งได้ทุกสถานที่จริงหรือไม่? |
|
เซลล์แสงอาทิตย์สามารถนำไปติดตั้งได้ทุกสถานที่ ภายใต้เงื่อนไข
ดังนี้
- ติดตั้งในที่โล่ง ไม่มีเงามาบดบังเซลล์แสงอาทิตย์
- ไม่อยู่ใกล้แหล่งที่มีฝุ่น (แนะนำให้ติดตั้งบนหลังคาหรือที่สูงจากพื้นดิน)
- ควรวางให้มีความลาดเอียง ประมาณ 10-15 องศาจากระดับแนวนอน
และหันหน้าแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไปทางทิศใต้ การวางแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้เกิดความลาดเอียงจะช่วยระบายน้ำฝนและป้องกันการท่วมขังของน้ำฝนบนแผงเซลล์แสงอาทิตย์
|
|
|
|
ถ้ามีฝุ่นหรือสิ่งสกปรกตกค้างอยู่บนแผงเซลล์แสงอาทิตย์จะเกิดอะไรขึ้น? |
|
การที่มีสิ่งสกปรกตกค้างบนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ไม่ว่าจะเป็น
ฝุ่น, มูลนก, ใบไม้ หรือละอองของเขม่า เป็นต้น สิ่งสกปรกเหล่านี้จะบดบังแสงที่มาตกกระทบบนผิวหน้าของแผงเซลล์แสงอาทิตย์
ทำให้ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ลดลง ดังนั้น ถ้าพบว่ามีสิ่งสกปรกตกค้างอยู่บนแผงเซลล์แสงอาทิตย์
ให้ใช้น้ำสะอาดล้างทำความสะอาด ห้ามใช้น้ำยาอื่นๆ ล้าง หรือใช้กระดาษทรายขัดผิวหน้าของแผงเซลล์แสงอาทิตย์เด็ดขาด
ซึ่งการทำความสะอาดเช่นนี้ควรทำเป็นระยะๆ หรือเมื่อสังเกตเห็นว่ามีสิ่งสกปรกตกค้างบนแผงเซลล์แสงอาทิตย์
|
|
|
|
แผงเซลล์แสงอาทิตย์ควรติดตั้งไว้ที่ใดจึงจะเหมาะสมที่สุด? |
|
สถานที่เหมาะสมในการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ จะต้องให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้รับแสงอาทิตย์อย่างเต็มที่
เช่น บนหลังคาบ้าน, อาคารสำนักงาน และโครงสำหรับยึดแผงเซลล์แสงอาทิตย์
ควรหลีกเลี่ยงการถูกบดบังจากร่มเงา เช่น ต้นไม้ และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ
ฯลฯ รวมถึงควรหันแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไปในทิศที่รับแสงอาทิตย์ช่วงเวลากลางวัน
เพื่อให้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากที่สุด สำหรับระบบที่ติดตั้งแบบอิสระ
ควรติดตั้งให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์อยู่ใกล้กับแบตเตอรี่ เพื่อให้เกิดการสูญเสียพลังงานเนื่องจากสายไฟน้อยที่สุด
|
|
|
|
สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลต์ได้หรือไม่? |
|
สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับ โดยต้องมีการติดตั้งเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า
(Inverter) ในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ด้วย เพื่อทำการแปลงไฟฟ้ากระแสตรงที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ
สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลต์
|
|
|
|
มีวิธีการต่อแบตเตอรี่อย่างไรให้ได้แรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น? |
|
ลักษณะการต่อเชื่อมแบตเตอรี่ มีผลต่อขนาดแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า
ขึ้นอยู่กับความต้องการนำไปใช้งาน และจะต้องเป็นแบตเตอรี่ชนิดเดียวกันเท่านั้นที่จะนำมาต่อเชื่อมกัน
"หากผู้ใช้ต้องการแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น" ขอแนะนำให้ต่อเชื่อมแบตเตอรี่แบบอนุกรม
(ข้อ 1) โดยการต่อเชื่อมแบตเตอรี่ทำได้ดังนี้
- การต่อเชื่อมแบตเตอรี่แบบอนุกรม
นำขั้วบวกของแบตเตอรี่อันที่ 1 ต่อเข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่อันที่
2 และนำขั้วบวกของแบตเตอรี่อันที่ 2 ต่อเข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่อันที่
3 ทำเช่นนี้ต่อไปจนครบจำนวนแบตเตอรี่
แรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ทั้งหมดเท่ากับ ผลรวมของแรงดันไฟฟ้าแต่ละแบตเตอรี่มารวมกัน
กระแสไฟฟ้าของแบตเตอรี่ทั้งหมดเท่ากับ ค่าของกระแสไฟฟ้าของแบตเตอรี่เซลล์เดียวเท่านั้น
ไม่เปลี่ยนแปลง
- การต่อเชื่อมแบตเตอรี่แบบขนาน
นำขั้วบวกของแบตเตอรี่อันที่ 1 ต่อเข้ากับขั้วบวกของแบตเตอรี่อันที่
2 และนำขั้วบวกของแบตเตอรี่อันที่ 2 ต่อเข้ากับขั้วบวกของแบตเตอรี่อันที่
3 ทำเช่นนี้ต่อไปจนครบจำนวนแบตเตอรี่ จากนั้นนำขั้วลบของแบตเตอรี่อันที่
1 ต่อเข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่อันที่ 2 และนำขั้วลบของแบตเตอรี่อันที่
2 ต่อเข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่อันที่ 3 ทำเช่นนี้ต่อไปจนครบจำนวนแบตเตอรี่เช่นเดียวกัน
แรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ทั้งหมดเท่ากับ ค่าของแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่เซลล์เดียวเท่านั้น
ไม่เปลี่ยนแปลง
กระแสไฟฟ้าของแบตเตอรี่ทั้งหมดเท่ากับ ผลรวมของกระแสไฟฟ้าแต่ละแบตเตอรี่มารวมกัน
- การต่อเชื่อมแบตเตอรี่ทั้งแบบอนุกรมและแบบขนาน
โดยนำลักษณะการต่อเชื่อมแบตเตอรี่ 2 แบบมารวมกัน เพื่อให้ได้แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าตามที่ต้องการ
|
|
|
|
การประจุกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่มากเกินไป จะทำให้แบตเตอรี่เสียหายได้อย่างไร? |
|
สภาวะการประจุกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่มากเกินไป จะเกิดขึ้นเมื่อมีการประจุกระแสไฟฟ้าเข้ามาเก็บไว้ทดแทนปริมาณที่จ่ายออกไป
ซึ่งการประจุกระแสไฟฟ้าที่มากเกินไปนี้ทำให้เกิดความร้อนมากเกิน
อันเป็นสาเหตุให้เพลตในเซลล์ของแบตเตอรี่โค้งงอและลอกหลุดได้
นอกจากนี้ยังผลิตก๊าซไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งเป็นผลให้เกิดการแตกตัวของโมเลกุลของน้ำภายในสารละลาย
สำหรับแบตเตอรี่ชนิด maintenance-free จะทำให้เสื่อมแบบถาวร
การจ่ายกระแสไฟฟ้าที่มากเกินไปของแบตเตอรี่ ก็สร้างความเสียหายให้กับแบตเตอรี่ได้เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสารประกอบทางเคมีของแบตเตอรี่ ซึ่งแบตเตอรี่ชนิด
Lead Acid จะให้จ่ายกระแสไฟฟ้าได้น้อยกว่าแบตเตอรี่ชนิด Ni-Cad
หรือแบตเตอรี่ชนิด Ni-MH ส่วนแบตเตอรี่ชนิด Sealed Lead Acid
จะให้จ่ายกระแสไฟฟ้าได้ 85% ที่แรงดันไฟฟ้าปกติของแบตเตอรี่
(เท่ากับ 10.2 โวลต์ที่แบตเตอรี่ 12 โวลต์)
|
|
|
|
เครื่อง LES ช่วยลดค่าใช้จ่ายอะไรได้บ้าง? |
|
อุปกรณ์ประหยัดพลังงานแสงสว่าง (LES) จะช่วยให้คุณลดค่าใช้จ่ายได้หลายด้านด้วยกัน
ไม่เพียงแต่จะช่วยลดค่าไฟฟ้าที่จ่ายให้กับระบบแสงสว่างและเครื่องปรับอากาศเท่านั้น
(ถ้ามีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศในสถานที่นั้น) LES ยังจะช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ระบบแสงสว่าง
ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบแสงสว่างลดน้อยลง
รวมถึงลดค่าบำรุงรักษาระบบแสงสว่างด้วย
|
|
|
|
เครื่อง LES ช่วยยืดอายุการใช้งานของหลอดไฟได้อย่างไร? |
|
ในกรณีที่พลังงานจากแหล่งจ่ายไฟสูงกว่าปกติ จะทำให้หลอดไฟได้รับพลังงานที่สูงเกินไป
ซึ่งมีผลทำให้หลอดไฟเสื่อมประสิทธิภาพเร็วขึ้น อายุการใช้งานของหลอดไฟสั้นลงและเป็นการสิ้นเปลือง
ดังนั้น ถ้าสามารถควบคุมพลังงานที่จ่ายให้กับหลอดไฟหรือระบบแสงสว่างให้อยู่ในระดับปกติและคงที่ได้
จะเป็นช่วยยืดอายุการใช้งานของหลอดไฟได้
|
|
|
|
อุปกรณ์ประหยัดพลังงานแสงสว่างใช้ได้กับหลอดไฟประเภทใดบ้าง
และจะประหยัดได้เท่าไร? |
|
LES สามารถนำไปใช้ได้กับหลอดไฟประเภท หลอดฟลูออเรสเซนต์และหลอดก๊าซดิสชาร์จ
เช่น หลอดโซเดียมความดันไอสูง, หลอดโซเดียมความดันไอต่ำ และหลอดเมตัลฮาไลด์
ฯลฯ ซึ่งคุณสามารถพิจารณาข้อมูลได้จากตารางดังต่อไปนี้ (ตารางแสดงอัตราเฉลี่ยของพลังงานไฟฟ้าที่ประหยัดได้สำหรับหลอดไฟประเภทต่างๆ
เมื่อใช้ LES)
ประเภทของหลอดไฟ |
อัตราเฉลี่ยของพลังงานไฟฟ้า
ที่ประหยัดได้ |
หลอดโซเดียมความดันไอสูง |
45% - 50% |
หลอดโซเดียมความดันไอต่ำ |
35% |
หลอดเมตัลฮาไลด์ |
40% |
หลอดฟลูออเรสเซนต์ ชนิดมีบัลลาสต์แกนเหล็กในตัว |
25% - 30% |
หลอดฟลูออเรสเซนต์ ชนิดมีบัลลาสต์อิเล็กทรอนิคส์ในตัว |
30% - 40% |
หลอดคอมแพ็คท์ฟลูออเรสเซนต์ |
30% - 40% |
|
|
|