|
ถาม-ตอบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อคุณภาพไฟฟ้า |
include $_SERVER["DOCUMENT_ROOT"]."/html/th/query/q_pqp.php"; ?>
|
|
|
|
|
|
อะไรเป็นปัญหาทางไฟฟ้าที่พบมากที่สุด? |
|
ปัญหาทางไฟฟ้าที่พบมากที่สุด ได้แก่
ไฟฟ้ากระชาก (Transient
หรือ Spike) คือ สภาวะที่แรงดันไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างกะทันหันในช่วงเวลาสั้นๆ
โดยสามารถเข้าไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ทั้งจากสายส่งการไฟฟ้าฯ เครือข่ายสื่อสาร
และสายโทรศัพท์
ไฟฟ้าเกิน (Surge)
คือ สภาวะที่มีแรงดันไฟฟ้าไหลเข้ามามากเกินในช่วงเวลาสั้นๆ (จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ยาวนานกว่าไฟฟ้ากระชาก)
ไฟฟ้าตก (Sag หรือ
Brownout) คือ สภาวะที่แรงดันไฟฟ้าลดต่ำลงจากปกติในช่วงเวลาสั้นๆ
|
|
|
|
สาเหตุของการเกิดปัญหาทางไฟฟ้ามีอะไรบ้าง? |
|
มีมากมายหลายสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดปัญหาทางไฟฟ้าได้ ขอตอบแยกเป็น
2 สาเหตุหลักๆ ดังนี้
สาเหตุจากปัจจัยภายนอก
- ฟ้าผ่าลงมาโดยตรง
- ฟ้าผ่าในระยะไกลออกไป แต่แรงดันไฟสูงชั่วขณะสามารถถูกส่งมาตามสายสื่อสารได้
- ไฟฟ้าตก/ไฟฟ้าดับ ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าลดต่ำลงตามมาในทันทีทันใด
- การเปิด-ปิดสวิตช์ของระบบจ่ายไฟของการไฟฟ้า
- ผู้ใช้อื่นๆ ที่อยู่ในระบบจ่ายไฟฯ เดียวกัน
สาเหตุจากปัจจัยภายใน
- การเปิด-ปิดสวิตช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก
(เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, ลิฟต์, เครื่องปรับอากาศ, เตาอบ,
เครื่องชงต้มกาแฟ และสวิตช์ระบบแสงสว่าง ฯลฯ)
- การรับและจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความเหนี่ยวนำ
(เช่น เครื่องถ่ายทอดเสียง, อุปกรณ์ที่มีขดลวดไฟฟ้าหรือมอเตอร์
ฯลฯ) รวมถึงการใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง ไฟฟ้าลัดวงจร หรือสายดิน
- ไฟรั่วในหม้อแปลงไฟฟ้าหรือตัวควบคุมการจ่ายไฟฟ้า เป็นเหตุให้เกิดแรงดันไฟสูงชั่วขณะ
ตามมาด้วยไฟฟ้าตกและไฟฟ้าดับ
|
|
|
|
UPS คืออะไร? |
|
UPS เป็นคำย่อของ Uninterruptible
Power Supply ถ้าแปลความหมายตรงตัว จะหมายถึง แหล่งจ่ายพลังงานต่อเนื่องนั่นเอง
อาจกล่าวได้ว่า UPS ก็คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สามารถทำการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่องแม้ในเวลาที่ไฟดับหรือเกิดปัญหาทางไฟฟ้า
โดยสามารถรับพลังงานไฟฟ้าได้ทุกสภาพ แล้วจ่ายพลังงานไฟฟ้าออกมาเป็นปกติ
ส่วนประกอบสำคัญของ UPS มีดังนี้
- แหล่งพลังงานไฟฟ้าสำรอง - แบตเตอรี่ เพื่อสำรองพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้กรณีเกิดไฟฟ้าดับ
หรือไฟฟ้าตกชั่วขณะหนึ่ง โดย UPS จะสามารถจ่ายไฟฟ้าสำรองไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ
- เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า AC เป็น DC (Rectifier) หรือ
เครื่องประจุแบตเตอรี่ (Charger) จะทำการแปลงกระแสไฟฟ้า
AC ที่รับจากระบบจ่ายไฟ เป็นกระแสไฟฟ้า DC และประจุไว้ในแบตเตอรี่
- เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า DC เป็น AC (Inverter) จะแปลงกระแสไฟฟ้า
DC ที่รับจากแบตเตอรี่ เป็นกระแสไฟฟ้า AC เพื่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันมีการผสมผสานเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ากับการใช้งาน UPS
เช่น มีซอฟต์แวร์สำหรับตรวจสอบและควบคุมการทำงานของ UPS
|
|
|
|
ทำไมต้องใช้ UPS? |
|
ก่อนอื่นเราต้องประเมินความสำคัญของอุปกรณ์ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์เสียก่อน
หากพบว่า สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านพักอาศัยหรือสำนักงาน
รวมถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลหรือโปรแกรมที่มีค่า ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องสำรองไฟฟ้า
หรือ UPS ที่มีคุณภาพสูงและได้มาตรฐาน เนื่องจากการใช้ไฟฟ้าโดยตรงที่จ่ายจากระบบของการไฟฟ้าฯ
สามารถเกิดปัญหาขัดข้องขึ้นได้อย่างคาดไม่ถึง ซึ่งปัญหาที่เกิดจากระบบจ่ายไฟฟ้านี้
มีได้หลายสาเหตุ เช่น สภาพอากาศ, การอยู่ใกล้กับแหล่งอุตสาหกรรม
รวมถึงการจ่ายไฟฟ้าออกมาด้วยแรงดันไฟฟ้าที่สูงหรือต่ำเกินไปและแรงดันไม่คงที่
สาเหตุเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดอันตรายและสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ หากคุณนำอุปกรณ์ดังกล่าวต่อเข้ากับ
UPS แล้ว จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดย UPS
จะช่วยปรับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า
เมื่อเกิดปัญหาทางไฟฟ้า เช่น ไฟตก ไฟดับ ไฟกระชาก และไฟเกิน
เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไฟฟ้าสำรองจ่ายให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้า เมื่อเกิดไฟดับหรือไฟตก
รวมถึงยังป้องกันสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าที่อาจสร้างความเสียหายต่อข้อมูลและอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อีกด้วย
|
|
|
|
UPS เหมาะสำหรับนำไปใช้งานใดบ้าง? |
|
UPS เป็นอุปกรณ์ที่มีจุดประสงค์ในการใช้งานเพื่อสำรองไฟฟ้าสำหรับจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ในเวลาที่เกิดไฟดับหรือไฟตก,
ปรับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า
เมื่อเกิดปัญหาทางไฟฟ้า รวมถึงป้องกันสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าที่อาจสร้างความเสียหายต่อข้อมูลและอุปกรณ์ไฟฟ้า
ดังนั้น จึงสามารถนำไปใช้ได้กับทุกๆ การใช้งานที่มีความต้องการดังกล่าวไว้ข้างต้น
เช่น ระบบงานคอมพิวเตอร์, หน่วยงานที่มีการจัดการและประมวลผลข้อมูล,
ธนาคาร, ตลาดหุ้น, การโทรคมนาคม, เครื่องมือทางการแพทย์, เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม
และเครื่องมือ/อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในสำนักงาน ฯลฯ
|
|
|
|
UPS มีหลักการทำงานอย่างไร ทำไมจึงสามารถจ่ายไฟฟ้าสำรองได้ในกรณีเกิดไฟดับ? |
|
เนื่องจาก UPS มีแบตเตอรี่เป็นส่วนประกอบอยู่ภายใน และแบตเตอรี่นี้เองที่มีหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้าสำรองไว้ใช้ในกรณีเกิดปัญหาทางไฟฟ้า
(เช่น ไฟดับ, ไฟตก และไฟกระชาก เป็นต้น) ดังนั้น ในกรณีที่อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์ไม่สามารถรับกระแสไฟฟ้าจากระบบจ่ายไฟการไฟฟ้าฯ
ได้ หรือได้รับกระแสไฟฟ้าที่มีความผิดปกติของแรงดันไฟฟ้า แบตเตอรี่จะจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองที่เก็บไว้เพื่อให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้นสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและไม่เกิดการติดขัด
โดยผู้ใช้จะสามารถทำงานต่อไปได้อีกระยะหนึ่งจนกระทั่งพลังงานจากแบตเตอรี่หมด
|
|
|
|
ข้อดีของ UPS ต่อระบบคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง? |
|
UPS สามารถจ่ายกระแสไฟสำรองทดแทนให้กับคอมพิวเตอร์ในขณะที่เกิดไฟดับหรือไฟตก
หรือเรียกว่า Backup Time นอกจากนี้ยังรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ
รวมถึงป้องกันสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าที่อาจสร้างความเสียหายต่อข้อมูล,
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ได้ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่ออย่างมาก
ทั้งในด้านการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อและเพื่อป้องกันข้อมูลสูญหายได้
เช่น
- ใช้ไฟสำรองของ UPS ทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากระบบจ่ายไฟของการไฟฟ้าฯ
ได้ช่วงเวลาหนึ่ง
- ช่วยให้สามารถบันทึกข้อมูล (Save) ของแฟ้มข้อมูลที่เปิดอยู่
- ไม่ทำให้ข้อมูลและการทำงานของโปรแกรมผิดพลาด
- สามารถ Shutdown ระบบคอมพิวเตอร์ได้ตามขั้นตอน
- ช่วยยืดอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ
- หากมีซอฟต์แวร์พิเศษสำหรับ UPS นั้น จะสามารถตรวจสอบสภาวะการทำงานทางไฟฟ้า,
การทำงานของ UPS และควบคุมการทำงาน เช่น ตั้งเวลา Shutdown
หรือ Restart คอมพิวเตอร์, ตั้งเวลาทดสอบ UPS, การบันทึกรายงานสถานการณ์ทางไฟฟ้าและตรวจสอบย้อนหลังได้
ฯลฯ
|
|
|
|
มีวิธีการคำนวณขนาดของ UPS ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะใช้งานอย่างไรบ้าง? |
|
ขอยกตัวอย่างการคำนวณขนาดกำลังจ่ายของ UPS ที่เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์
1 เครื่อง โดยเริ่มจากดูป้ายบอกค่าพิกัดกำลัง (Nameplate) ที่ด้านหลังของคอมพิวเตอร์
(อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ก็มี Nameplate เช่นเดียวกัน) ป้ายนี้จะระบุแรงดันไฟฟ้า
และกระแสไฟฟ้า ที่ต้องการสำหรับใช้งาน
จากป้ายพบว่า คอมพิวเตอร์ ใช้งานที่แรงดันไฟฟ้า 220 V และใช้กระแสไฟฟ้า
1.5 A
- ให้คำนวณค่า VA จะได้ = 220 x 1.5 = 330 VA
(อุปกรณ์บางชนิดอาจให้ค่าเป็นพลังงานไฟฟ้า มีหน่วยวัตต์ (Watt-W)
ให้แปลงกลับเป็นค่า VA
โดยคูณค่าวัตต์ด้วย 1.4)
- เลือก UPS ที่จะสามารถจ่ายไฟได้เพียงพอต่อระดับค่า VA ของอุปกรณ์ไฟฟ้า
ในที่นี้ ขนาดของ UPS ที่สามารถต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างปลอดภัย
คือ 330 VA ขึ้นไป
|
|
|
|
ซอฟต์แวร์สำหรับ UPS มีความสำคัญอย่างไรและมีความจำเป็นที่จะต้องใช้งานควบคู่กับ
UPS หรือไม่? |
|
ปัจจุบันมี UPS หลายยี่ห้อด้วยกันที่ให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบสภาวะการทำงานทางไฟฟ้าและควบคุมการทำงานของ
UPS ได้ ด้วยซอฟต์แวร์สำหรับ UPS โดยเฉพาะ และใช้งานโดยเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
ซึ่งซอฟต์แวร์พิเศษนี้มีหน้าที่หลักๆ เช่น
- แสดงสถานะการทำงานของ UPS และสถานะของไฟฟ้าที่จ่ายจากการไฟฟ้าฯ
- ตั้งเวลา Shutdown หรือ Restart คอมพิวเตอร์ และ UPS รวมถึงตั้งเวลาทดสอบ
UPS ได้
- รายงานสถานการณ์ทางไฟฟ้าและตรวจสอบสถานการณ์ย้อนหลังได้
|
|
|
|
ใช้ UPS รุ่น GREEN อยู่ สามารถใช้ต่อกับคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องได้หรือไม่? |
|
หากคุณมีความจำเป็นต้องใช้กับคอมพิวเตอร์ถึง 2 เครื่อง ก็สามารถต่อเข้ากับ
GREEN ได้ แต่เนื่องจาก UPS รุ่น GREEN รวมถึง OA Extra 525
ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์เพียง 1 ชุดซึ่งประกอบด้วย
คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง, เครื่องพิมพ์ 1 เครื่องและโมเด็ม 1 เครื่อง
หากนำไปต่อกับคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องจะทำให้ Backup Time ลดลง
จนบางครั้งอาจไม่มีเวลาเพียงพอต่อการบันทึกข้อมูลและปิดเครื่องตามขั้นตอนอย่างปลอดภัย
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ขนาดกำลังไฟที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้และแบตเตอรี่ได้รับการประจุไว้เต็มหรือไม่
กรณีที่คุณต้องการนำ UPS ไปต่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง
ขอแนะนำให้คุณเลือกใช้ UPS รุ่น ULTRA Series 525 BG เพราะเมื่อนำไปต่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์
Pentium III พร้อมด้วยจอสี 15" 1 เครื่อง จะมี Backup Time
ถึง 28 นาที และถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ Pentium III พร้อมด้วยจอสี
15" 2 เครื่อง Backup Time จะลดลงเหลือ 8 นาที
|
|
|
|
ในกรณีที่ซื้อ UPS มาใหม่ จะต้อง charge แบตเตอรี่ก่อนการใช้งานหรือไม่? |
|
ควรทำการ charge แบตเตอรี่ของ UPS ที่ซื้อมาใหม่ก่อนการใช้งานเป็นเวลา
12 ชั่วโมง
|
|
|
|
ในขณะที่มีการ charge แบตเตอรี่จำเป็นต้องเปิดสวิตช์เครื่อง
UPS หรือไม่ และการเปิดหรือปิดเครื่องขณะ charge มีผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่หรือไม่
อย่างไร? |
|
เวลาที่ทำการ charge แบตเตอรี่ จำเป็นต้องเปิดสวิตช์เครื่อง
UPS ที่ด้านหน้าเครื่องจึงจะทำการ charge แบตเตอรี่ได้ ยกเว้น
UPS รุ่น Ultra Series เท่านั้นที่ไม่ต้องเปิดสวิตช์เครื่อง
ขณะทำการ charge แบตเตอรี่ และการเปิดหรือปิดเครื่องขณะทำการ
charge แบตเตอรี่ ก็ไม่มีผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่แต่อย่างใด
|
|
|
|
UPS ของลีโอนิคส์ ต้อง charge แบตเตอรี่ให้เต็มก่อนการใช้งานทุกครั้งหรือไม่? |
|
สำหรับ UPS ของลีโอนิคส์ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องประจุแบตเตอรี่
(charge) ก่อนการใช้งาน หากไม่เกิดไฟดับอย่างทันทีทันใด เพราะ
UPS ของลีโอนิคส์ได้รับการออกแบบให้มีระบบประจุแบตเตอรี่อัตโนมัติ
(Auto Charge System)
การทำงานของ UPS คือ จะแบ่งกระแสไฟฟ้าที่รับเข้ามาเป็น 2 ส่วน
ส่วนหนึ่งจะทำการปรับแรงดันไฟฟ้า และกรองสัญญาณรบกวน จากนั้นจ่ายไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าตามปกติ
อีกส่วนหนึ่งจะแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อประจุเก็บไว้ในแบตเตอรี่
กรณีเกิดไฟดับ ก็จะสามารถจ่ายไฟสำรองจากแบตเตอรี่ไปยังอุปกรณ์ที่ต่อใช้งานได้ทันที
แต่อาจมีข้อยกเว้นสำหรับบางกรณี เช่น ไฟดับหรือขาดช่วงติดต่อกันเป็นเวลานาน
โดยที่ UPS ไม่สามารถประจุแบตเตอรี่ได้ จะทำให้เกิดอาการ Low
Battery หรือประจุไฟฟ้าจากแบตเตอรี่หมดได้
เนื่องจาก UPS ที่ใช้ระบบนี้จะทำงานอยู่ตลอดเวลาที่มีการเสียบปลั๊ก
UPS กับระบบจ่ายไฟฟ้า ไม่ว่าจะเปิดสวิตช์ UPS หรือไม่ก็ตาม ดังนั้น
จึงต้องใช้เทคโนโลยีในการควบคุมระบบประจุแบตเตอรี่และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ที่ดี
เพื่อป้องกันไฟไหม้ที่อาจเกิดขึ้นได้
|
|
|
|
ในการเลือก Surge Protectors ควรพิจารณาสิ่งใดบ้าง? |
|
การเลือกซื้ออุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง
มีดังต่อไปนี้
- คุณสมบัติการใช้งานของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ
ควรพิจารณาดังนี้
- Surge Current Capacity
(ถูกกำหนดขึ้นโดยมาตรฐาน NEMA) หมายถึง ระดับกระแสไฟฟ้าสูงที่สุดที่อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะสามารถต้านทานได้ต่อการเกิดแรงดันสูงชั่วขณะหนึ่งครั้ง
โดยระดับกระแสไฟฟ้านี้จะบ่งชี้ถึงความสามารถในการป้องกันของอุปกรณ์ฯ
และใช้ในการเลือกอุปกรณ์ฯ ให้เหมาะกับแต่ละการใช้งาน เช่น
นำไปใช้งานในพื้นที่โล่งแจ้งซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดฟ้าผ่าที่รุนแรง
จะต้องพิจารณาถึงระดับกระแสไฟฟ้าสูงที่สุดของอุปกรณ์ฯ
ซึ่งสูงมากพอที่จะสามารถต้านทานได้
- Clamping Voltage เป็นคุณสมบัติที่อ้างอิงถึงจุดสูงสุดที่ยอมให้แรงดันไฟฟ้าไหลผ่าน
หรือกล่าวได้ว่า เป็นค่าแรงดันไฟฟ้าที่อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะยอมให้ไหลผ่านไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่อเชื่อมอยู่ในขณะที่เกิดแรงดันสูงชั่วขณะ
คุณสมบัตินี้ใช้วัดความสามารถในการลดแรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ
ของอุปกรณ์ฯ ซึ่งค่านี้ได้รับการรับรองจาก UL (Underwriters
Laboratories)
- ด้านความปลอดภัย ควรพิจารณาดังนี้
- อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ ควรมีการติดตั้งฟิวส์หรือตัวตัดไฟในวงจรที่จะทำการป้องกันโดยเฉพาะ
เพื่อลบล้างกับ MOV ที่อาจเสียหายได้ในช่วงที่เกิดแรงดันสูงชั่วขณะ
หรือเพื่อป้องกันการใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง
- ในกรณีที่เกิดแรงดันไฟสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะจะต้องมีการป้องกันด้วยวิธีการต่างๆ
เช่น มีการต่อสาย Line ไปยังสาย Neutral, สาย Line ไปยังสาย
Ground, สาย Line ไปยังสาย Line และสาย Neutral ไปยังสาย
Ground ฯลฯ
- อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ มีไฟหรือสัญญาณเตือน
เพื่อแสดงสภาวะการทำงานของอุปกรณ์ฯ
- มี Surge counter เพื่อแสดงสถานะขณะอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะเปิดใช้งานอยู่
|
|
|
|
อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดแรงดันสูงชั่วขณะในสายไฟ และสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างไร? |
|
การเกิดแรงดันสูงชั่วขณะในสายไฟ มีได้มากมายหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น
ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่าและพายุฝนฟ้าคะนอง การทำให้เกิดเสาไฟล้ม
หม้อแปลงระเบิด หรือแม้แต่การเปิด-ปิดสวิตช์อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ใช้พลังงานไฟฟ้าสูง
เมื่อมีพลังงานไฟฟ้าจำนวนมากไหลผ่านวงจรไฟฟ้าขนาดเล็ก ทำให้เกิดความร้อน
และร้อนขึ้นจนแดง จากนั้นโมเลกุลจะเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นก๊าซ
(หรือควันนั่นเอง) และระเหยออกไป ทำให้วงจรไฟฟ้าเสีย แล้วอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือระบบไฟฟ้าก็จะได้รับความเสียหายไปด้วย
ซึ่งบางครั้งการเกิดเช่นนี้ อาจต้องใช้เวลานานโดยได้รับการกระตุ้นซ้ำๆ
เกิดขึ้นทีละเล็กละน้อย จนสั่งสมเป็นความเสียหายอย่างมหาศาลได้ในที่สุด
|
|
|
|
ทำอย่างไรจึงจะสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
ได้? |
|
ถ้าจะให้ตอบ วิธีที่แน่นอนที่สุด ก็คือ ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีวงจรอิเล็กทรอนิคส์
หรือไม่ต้องเปิดใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งนั่นไม่ใช่คำตอบที่ดี
เพราะในปัจจุบันการดำเนินชีวิตของเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่ออำนวยความสะดวกได้
ดังนั้น ทางที่ดีควรป้องกันที่แหล่งจ่ายไฟฟ้าไปยังระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากแรงดันสูงชั่วขณะ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดความเสียหายขึ้นกับระบบหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
ของคุณ
|
|
|